ท่อน้ำทิ้ง PP เก็บเสียง 3 ชั้น 
“ไซเลนท์”
MINERAL-REINFORCED PP PIPE

Articles

ฉนวนกันความร้อนใช้แทนฉนวนกันเสียงได้หรือไม่

ฉนวนกันความร้อนใช้แทนฉนวนกันเสียงได้หรือไม่

ฉนวนกันความร้อนใช้แทนฉนวนกันเสียงได้หรือไม่2

ในปัจจุบันปัญหาเรื่องเสียงน้ำไหลจากท่อน้ำทิ้งกลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาของการอยู่อาศัย หนึ่งวิธีที่ถูกใช้ในการแก้ปัญหาเสียงดังจากท่อน้ำทิ้งคือ การหุ้มฉนวนท่อน้ำทิ้งเพื่อช่วยลดเสียง ทำให้การเลือกใช้งานฉนวนให้เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะการใช้งานฉนวนผิดประเภทไม่เพียงแต่เป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่เกิดประโยชน์อีกทั้งยังไม่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

ความแตกต่างของประเภทและคุณสมบัติของฉนวนกันเสียงและฉนวนกันความร้อน

ฉนวนกันเสียง

ทำหน้าที่เพื่อป้องกันมลพิษทางเสียงที่จะรบกวนผู้อยู่อาศัย การใช้ฉนวนที่สามารถป้องกันเสียงได้อย่างสมบูรณ์โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ

1. ฉนวนดูดซับเสียง

ทำหน้าที่ในการดูดซับปริมาณของพลังงานเสียงที่ผ่านฉนวนเข้ามา โดยจะทำให้พลังงานที่ผ่านออกไปมีค่าลดลง โดยทั่วไปนิยมใช้ฉนวนที่มีความหนาเพียงพอ ฉนวนจะมีลักษณะโครงสร้างเซลล์แบบเปิด( Open Cell ) มีความหนาแน่นและมีรูพรุนสูง เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวของฉนวน ทำให้เมื่อพลังงานเสียงเดินทางผ่านรูพรุนเหล่านี้ จะเกิดการเสียดสีและเปลี่ยนพลังงานเสียงไปเป็นพลังงานความร้อนแทนนั่นเอง
โครงสร้างเซลล์แบบเปิด (Open Cell)
โครงสร้างเซลล์แบบเปิด (Open Cell)
โครงสร้างเซลล์แบบเปิด (Open Cell) เซลล์มีลักษณะโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นรูพรุน ไม่มีผนังเซลล์ โดยแต่ละเซลล์สามารถเชื่อมต่อเข้ากับเซลล์อื่นได้ ซึ่งลักษณะของการจัดเรียงเซลล์เช่นนี้ เซลล์จึงมีพื้นที่ผิวสูง อากาศและนํ้าสามารถผ่านเข้ามาได้บางส่วน โดยทั่วไปมีค่าการต้านทานความร้อน (R-value) เฉลี่ยอยู่ที่ 3 – 4 m²K/W ต่อความหนาของฉนวนขนาด 1 นิ้ว ทำให้ไม่นิยมนำมาใช้งานบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมเปียกชื้น หรือใช้กับงานประเภทที่ต้องเกี่ยวข้องกับความชื้น

2. ฉนวนป้องกันเสียง

ทำหน้าที่สะท้อนเสียง เพื่อป้องกันไม่ให้เสียงสามารถเดินทางทะลุผ่าน ฉนวนจึงสามารถกันเสียงรบกวนจากภายนอก และขณะเดียวกัน สามารถกันเสียงจากภายในไม่ให้ออกไปรบกวนบริเวณรอบข้างได้ โดยฉนวนที่นิยมนำมาใช้จะต้องมีความหนาแน่นสูงมาก ทั่วไปนิยมใช้เป็นฉนวนที่มีลักษณะโครงสร้างเซลล์แบบปิด (Close Cell)
โครงสร้างเซลล์แบบปิด (Close Cell)
โครงสร้างเซลล์แบบปิด (Close Cell)

โครงสร้างเซลล์แบบปิด ( Close Cell ) เซลล์มีลักษณะโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นผนังเซลล์อิสระ แต่ละเซลล์มีขนาดใกล้เคียงกัน (Uniform) ภายในบรรจุอากาศ ไม่มีจุดเชื่อมต่อเข้ากับเซลล์อื่น ทำให้มีความหนาแน่นมากกว่าโครงสร้างเซลล์แบบเปิด สามารถป้องกันความชื้นและนํ้าได้ดี นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติค่าการต้านทานความร้อน (R-value) เฉลี่ยอยู่ที่ 3 – 6 m²K/W ต่อความหนาของฉนวนขนาด 1 นิ้ว จึงนิยมใช้เป็นฉนวนกันความร้อน

โครงสร้างฉนวนกันเสียง
โครงสร้างฉนวนกันเสียง

ดังนั้นเพื่อการป้องกันมลพิษทางเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปจึงนิยมหุ้มฉนวนดูดซับเสียงไว้เป็นชั้นแรกของแหล่งกำเนิดเสียงและหุ้มฉนวนป้องกันเสียงทับอีกชั้นเพื่อไม่ให้พลังงานเสียงสามารถผ่านออกมาสู่ภายนอกได้และเกิดการสะท้อนกลับเข้าไปที่ฉนวนดูดซับเสียง

ฉนวนกันความร้อน

จะมีลักษณะโครงสร้างเซลล์แบบปิด (Close Cell) เช่นเดียวกับฉนวนกันเสียง แต่มีความหนาแน่นต่ำกว่า จึงมีปริมาณของอากาศอยู่ภายในฉนวนมากกว่า โดยอากาศที่อยู่ภายในเซลล์ จะเป็นตัวช่วยในการป้องกันการนำความร้อนได้ดี

จากการที่ฉนวนแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าฉนวนกันความร้อนจะมีโครงสร้างเซลล์แบบปิดเช่นเดียวกับฉนวนกันเสียง แต่วัตถุประสงค์ในการใช้งานแตกต่างกัน ทำให้ค่าความหนาแน่นของฉนวนจึงมีความแตกต่างกันอย่างมาก ความหนาแน่นของฉนวนป้องกันเสียงมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 1000 kg/m³ ขึ้นไป ในขณะที่ฉนวนกันความร้อนมีความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 1 – 600 kg/m³ ซึ่งความหนาแน่นที่น้อยกว่า ทำให้ช่วยลดปริมาณของวัตถุดิบที่นำมาผลิตฉนวน ส่งผลให้ต้นทุนของฉนวนถูกลงได้อีกด้วย

ดังนั้น ฉนวนกันความร้อนจึงไม่ควรนำมาใช้ป้องกันเสียง เพราะฉนวนกันความร้อน มีความหนาแน่นของฉนวนน้อย จึงสามารถป้องกันเสียงได้เพียงบางส่วน อีกทั้ง ฉนวนกันความร้อนไม่ได้มีโครงสร้างเซลล์แบบเปิด (Open Cell) จึงไม่สามารถดูดซับเสียงได้ ดังนั้นเราจึงควรเลือกใช้งานฉนวนให้เหมาะสม และตรงกับความต้องการในการแก้ไขปัญหาเสียงดังที่เกิดจากท่อน้ำทิ้ง

ท่อน้ำทิ้ง PP เก็บเสียงไซเลนท์

เปลี่ยนมาใช้ท่อน้ำทิ้ง PP เก็บเสียงไซเลนท์ ทดแทนการใช้งานท่อน้ำทิ้งชนิดอื่นๆ ที่ต้องมีการหุ้มฉนวนกันเสียง ด้วยคุณสมบัติของท่อน้ำทิ้ง PP เก็บเสียงไซเลนท์ ที่มีชั้นแร่ตรงกลาง ซึ่งเป็นฉนวนกันเสียงในตัว ทำให้ช่วยลดเสียงน้ำไหลได้ดี มีผลการทดสอบเสียงจาก Fraunhofer IBP ประเทศเยอรมนี ที่ความเร็วน้ำ 4 ลิตร ต่อ วินาที ค่าความดังของเสียงน้ำไหลเพียง 22 dB,(A) มั่นใจเลือกใช้ท่อน้ำทิ้ง PP เก็บเสียงไซเลนท์ คุ้มค่ากว่า ติดตั้งง่าย ประหยัดเวลา และ ประหยัดเนื้อที่ในการติดตั้งมากกว่า

สินค้า

บทความอื่นๆ

Articles Recommended

ท่อ PP น้ำทิ้งลดเสียงไซเลนท์

ท่อ PP น้ำทิ้งลดเสียงไซเลนท์…นวัตกรรมระบบท่อน้ำทิ้งที่ตอบโจทย์อาคารยุคใหม่

ท่อน้ำทิ้ง PP เก็บเสียง 3 ชั้น “ไซเลนท์”MINERAL-REINFORCED PP PIPE...

ข้อต่อป้องกันหนูเข้าสู่อาคาร RATSTOP 110 เทคโนโลยีใหม่! จากเยอรมนี

ท่อน้ำทิ้ง PP เก็บเสียง 3 ชั้น “ไซเลนท์”MINERAL-REINFORCED PP PIPE...

Q-max 110 ข้อต่อรวมท่อ Soil, Waste, Vent เป็นท่อเดียว เทคโนโลยีใหม่! จากเยอรมนี

ท่อน้ำทิ้ง PP เก็บเสียง 3 ชั้น “ไซเลนท์”MINERAL-REINFORCED PP PIPE...

Locking Ring วงแหวนเสริมแรงดัน

ท่อน้ำทิ้ง PP เก็บเสียง 3 ชั้น “ไซเลนท์”MINERAL-REINFORCED PP PIPE...

ท่อเหล็กหล่อ…ปัญหาของโรงแรมและอาคารสูง

ท่อน้ำทิ้ง PP เก็บเสียง 3 ชั้น “ไซเลนท์”MINERAL-REINFORCED PP PIPE...

โครงการ UOB (สำนักงานใหญ่) ไว้วางใจเลือกใช้ท่อระบายน้ำเก็บเสียง XYLENT

โดยเหตุผลที่ทางโครงการไว้วางใจ ในการเลือกใช้ท่อระบายน้ำเก็บเสียง XYLENT มีดังนี้